สารบัญเนื้อหา
ฝันเห็นกษัตริย์
ฝันเห็นกษัตริย์ เชื้อพระวงศ์ ฝันเห็นกษัตริย์และราชินี ฝันเห็นกษัตริย์หลายพระองค์ ฝันเห็นองค์พระเจ้าแผ่นดิน หรือพระราชินี
ทํานายว่า
การงาน
- มีผู้ใหญ่ให้ความช่วยเหลือด้านการงาน
- อุปสรรคในการทำงานจะหมดไป
- ถ้าคิดจะเปลี่ยนงานจะได้งานใหม่ที่ดีกว่าเดิมในไม่ช้า
- จะได้รับมอบหมายงานใหญ่แต่งานจะสำเร็จแน่นอน
- จะได้เลื่อนขั้นเลื่อนตำแหน่ง หรือได้รับเงินเดือนเพิ่มขึ้น
การเงิน
- จะได้รับเงินก้อนโตจากการค้าขายหรือการเสี่ยงโชค
- จะได้รับผลกำไรจากการทำธุรกิจ
- จะมีคนช่วยเหลือเรื่องการติดต่อทำธุรกรรมทางด้านการเงิน
- การเงินที่หมุนอยู่จะคล่องตัวมากขึ้น
- ญาติผู้ใหญ่ที่มาจากแดนไกลจะนำเงินทองมาให้
ความรัก
- คู่รัก หรือแฟนที่ทะเลาะกันอยู่จะมาง้อขอคืนดี
- คนโสดจะได้พบเนื้อคู่จากการเดินทาง
- จะมีโชคด้านความรักสละโลดหรือแต่งงาน
- คนมีครอบครัวแล้วถ้าคิดหวังเรื่องบุตรจะได้บุตร
- คนท้องจะได้ลูกที่น่ารัก เลี้ยงง่าย
สุขภาพ
- ระวังเรื่องการเดิน เพราะอาจเกิดอุบัติเหตุเล็กๆ น้อยๆ จากความเลินเล่อได้
- อาการเจ็บป่วยเล็กๆ น้อยๆ จะดีขึ้น
- อาการเจ็บป่วยใหญ่ จะหายวันหายคืน หรือดีขึ้นในเร็ววัน
- จะหายจากโรคภัย หรือหมดเคราะห์หมดโศก
- ควรหาเวลาออกกำลังกายเพื่อสุขภาพที่ดีขึ้น
เลขมงคลนำโชค : 198, 589, 298, 89, 19, 59,
ฝันเห็นพระมหากษัตริย์
ในแง่ของการทำนายฝัน กษัตริย์ ยังหมายถึง ความสูงส่ง ที่อยู่เหนือสิ่งอื่นใด รวมไปถึง ความมั่งคั่ง อุดมสมบูรณ์ อำนาจ บารมี ที่เกิดขึ้นได้กับตัวผู้ฝันเอง หากใครมีโอกาสได้ ฝันเห็นกษัตริย์องค์ปัจจุบัน หรือ ฝันเห็นกษัตริย์ที่ล่วงลับไปแล้ว ไม่ว่าจะเป็นพระองค์ใดก็ตาม จึงถือได้ว่าความโชคดี สิ่งดีๆ กำลังจะมาบังเกิดแก่ท่านการทำนายฝันตามความเชื่อโบราณถือว่าความฝันว่ามีอิทธิพลต่อชีวิต
เรามักได้ยินผู้ใหญ่บอกเล่าว่าหากฝันเห็นอะไรให้รีบจดความฝันนั้นไว้เพื่อนำมาอ่านคำนาย หรือวิเคราะห์ตัวเลขเพื่อนำมาเสี่ยงโชค การทำนายฝันมีทั้งดีและไม่ดีปะปนกันไป ซึ่งผลจะเป็นอย่างไรนั้นก็ขึ้นอยู่กับความเชื่อและวาสนาของแต่ละบุคคลเรื่องราวเกี่ยวกับความฝันและการทำนายฝันของไทยมีมานานมากแล้วตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน หนึ่งความฝันที่ถือเป็นเรื่องดีสำหรับคนไทย คือ การฝันเห็นกษัตริย์ ฝันเห็นราชวงศ์กษัตริย์ หรือฝันเห็นกษัตริย์องค์ปัจจุบัน ซึ่งความฝันดังกล่าวสามารถนำมาทำนายเรื่องการงาน การเงิน ความรัก สุขภาพ หรือแม้แต่ทำนายเรื่องตัวเลขเพื่อนำมาเสี่ยงโชคได้อีกด้วย
ความหมายของ “กษัตริย์”
ตามรูปศัพท์ หมายถึง “ นักรบผู้ยิ่งใหญ่ ” ถ้าจะถือตามความหมายที่ใช้กันอยู่ทั่วไปและความเข้าใจตามธรรมดาแล้ว พระมหากษัตริย์ก็คือพระเจ้าแผ่นดิน ในภาษาสันสกฤตคำว่า กษัตริย หมายถึงผู้ป้องกันหรือนักรบ คติที่เรียกพระเจ้าแผ่นดินว่าเป็นพระมหากษัตริย์นั้นเรารับมาจากคำในภาษาสันสกฤตซึ่งมีความหมายสองนัยคือ คติจากธรรมเนียมการใช้วรรณะของอินเดียซึ่งถือว่า “ กษัตริย์ ” รวมถึงพวกนักรบด้วย และคติที่สองหมายถึงผู้ปกครองแผ่นดินซึ่งสืบเนื่องมาจากคติ “ มหาสมมติ ” ซึ่งถือว่ามหาชนเป็นผู้เลือกกษัตริย์
ประวัติกษัติย์ไทยรัชกาลที่ 1-10
รัชกาลที่ 1
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (ประสูติ พ.ศ. 2279 ขึ้นครองราชย์ พ.ศ. 2325 – พ.ศ. 2352) มีพระนามเดิมว่า ทองด้วง ทรงประสูติเมื่อวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2279 พระราชบิดาทรงพระนามว่า ออกอักษรสุนทรศาสตร์ พระราชมารดาทรงพระนามว่า ดาวเรือง มีบุตรและธิดารวมทั้งหมด 5 คน
เมื่อเจริญวัยได้ถวายตัวเป็นมหาดเล็กในสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าอุทุมพร พ.ศ. 2323 เป็นครั้งสุดท้ายที่ไปปราบเขมร ขณะเดียวกับที่กรุงธนบุรีเกิดจลาจลจึงเสด็จยกกองทัพกลับมากรุงธนบุรี เมื่อ พ.ศ. 2325 พระองค์ทรงปราบปรามเสี้ยนหนามแผ่นดินเสร็จแล้วจึงเสด็จขึ้นครองราชสมบัติปราบดาภิเษก พระราชกรณียกิจประการแรกที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงจัดทำเมื่อเสด็จขึ้นครองราชย์ คือการโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งกรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานีใหม่ทางตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาแทนกรุงธนบุรี
รัชกาลที่ 2
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (ประสูติ พ.ศ. 2310 ขึ้นครองราชย์ พ.ศ. 2353 – พ.ศ. 2367) มีพระนามเดิมว่า ฉิม พระองค์ทรงเป็นพระบรมราชโอรสองค์ที่ 4 ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชและกรมสมเด็จพระอมรินทรามาตย์พระบรมราชชนนีพันปีหลวง พระราชกรณียกิจสำคัญด้านเศรษฐกิจ คือการรวบรวมรายได้จากการค้ากับต่างประเทศ ซึ่งในสมัยนี้ได้มีการเรียกเก็บภาษีอากรแบบใหม่ คือ การเดินสวนและการเดินนา การเดินสวน เป็นการแต่งตั้งเจ้าพนักงานไปสำรวจพื้นที่เพาะปลูกของราษฎรเพื่อคิดอัตราเสียภาษีอากร ที่ถูกต้อง ทำให้เกิดความยุติธรรมแก่เจ้าของสวน ส่วนการเดินนา คล้ายกับการเดินสวน แต่ให้เก็บหางข้าวแทนการเก็บภาษีอากร
รัชกาลที่ 3
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (ประสูติ พ.ศ. 2330 ขึ้นครองราชย์ พ.ศ. 2367 – พ.ศ. 2394) มีพระนามเดิมว่า พระองค์ชายทับ ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ไทยองค์ที่ 3 แห่งราชวงศ์จักรี เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และสมเด็จพระศรีสุราลัย (เจ้าจอมมารดาเรียม) พระราชกรณียกิจสำคัญด้านการปกครอง ปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ส่วนการบริหารราชการแผ่นดินยังคงจัดแบ่งออกเป็นหัวเมืองชั้นนอก หัวเมืองชั้นใน และหัวเมืองประเทศราช ในสมัยรัตนโกสินทร์ เน้นหลักไปในด้านการก่อสร้างบ้านเมือง ตลอดจนการขุดลอกคูคลอง สร้างป้อม สร้างเมือง ฯลฯ เพราะอยู่ในระยะการสร้างราชธานีใหม่
รัชกาลที่ 4
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ประสูติ พ.ศ. 2347 ขึ้นครองราชย์ พ.ศ. 2393 – พ.ศ. 2411) มีพระนามเดิมว่า เจ้าฟ้ามหามาลา เป็นพระราชโอรส ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย กับสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี ได้เสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อวันที่ 4 เมษายน พุทธศักราช 2394 ทรงพระนามว่า “พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะที่พระองค์ขึ้นเสวยสิริราชย์สมบัตินั้นพระชนมายุ 37 พรรษา หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จขึ้นครองราชย์แล้วก็ทรงทำนุบำรุงบ้านเมืองให้เจริญุรุ่งเรื่องในทุกๆ ด้านทรงเป็นพระมหากษัตริย์ผู้เริ่มศักราชการติดต่อกับนานาอารยประเทศอย่างจริงจัง ดังจะเห็นได้จากการที่ประเทศต่างๆ ส่งคณะทูตเข้ามาเจริญสัมพันธไมตรี และติดต่อค้าขาย
รัชกาลที่ 5
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ประสูติ พ.ศ. 2396 ขึ้นครองราชย์ พ.ศ. 2411 – พ.ศ. 2453) มีพระนามเดิมว่า เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 กับสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี (สมเด็จพระนางรําเพยภมรภิรมย์) เมื่อพระชนมายุได้ 16 พรรษา ได้ขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติโดยมีสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์เป็นผู้สําเร็จราชการ พ.ศ. 2410 พระเจ้านโปเลียนที่ 3 แห่งฝรั่งเศส ได้ส่งพระแสงกระบี่มาถวาย ครั้นพระชนมายุครบที่จะว่าราชการได้ พระองค์จึงได้ทรงทําพิธีราชาภิเษกใหม่อีกครั้งหนึ่ง เมื่อ พ.ศ. 2416 พระราชกรณียกิจที่สำคัญ ได้แก่ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีเลิกทาส
รัชกาลที่ 6
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (ประสูติ พ.ศ. 2423 ขึ้นครองราชย์ พ.ศ. 2453 – พ.ศ. 2468) มีพระนามเดิมว่า สมเด็จเจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ ทรงเป็นพระราชโอรสของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี (สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชเทวี) พระราชกรณียกิจที่สำคัญในด้านการศึกษาทรงริเริ่มสร้างโรงเรียนขึ้นแทนวัดประจำรัชกาล ได้แก่ โรงเรียนมหาดเล็กหลวง ซึ่งในปัจจุบันคือโรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย ด้านการคมนาคมในปี พ.ศ. 2460 ทรงตั้งกรมรถไฟหลวง อีกทั้งยังทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างสะพานพระราม 6 เพี่อเชื่อมทางรถไฟไปยังภูมิภาคอื่น
รัชกาลที่ 7
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (ประสูติ พ.ศ. 2436 ขึ้นครองราชย์ พ.ศ. 2468 – พ.ศ. 2477) มีพระนามเดิมว่า เจ้าฟ้าชายประชาธิปกศักดิเดช กรมหลวงสุโขทัยธรรมราชา พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นโอรสองค์ที่ 76 ทรงเป็นพระโอรสองค์เล็กของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งทรงประสูติแด่สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนารถ นับว่าเป็นพระราชโอรสองค์เล็กสุด ด้านการทำนุบำรุงบ้านเมือง ทรงพยายามแก้ไขการงบประมาณของประเทศให้งบดุลอย่างดีที่สุด ในปี พ.ศ. 2475 เป็นระยะเวลาที่กรุงเทพฯ มีอายุครบ 150 ปี ทรงจัดงานเฉลิมฉลองโดยทำนุบำรุง บูรณปฏิสังขรณ์สิ่งสำคัญอันเป็นหลักของกรุงเทพฯ หลายประการ
รัชกาลที่ 8
พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล (ประสูติ พ.ศ. 2468 ขึ้นครองราชย์ พ.ศ. 2472 – พ.ศ. 2489) มีพระนามเดิมว่า พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าอานันทมหิดล ทรงเป็นพระราชโอรสองค์ที่ 2 ของสมเด็จพระราชบิดาเจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช กรมหลวงสงขลานครินทร์ และสมเด็จพระราชชนนีศรีสังวาลย์ ทรงมีพระพี่นางและพระอนุชาร่วมสมเด็จพระราชบิดาและสมเด็จพระราชชนนีเดียวกัน คือ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา และสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช ทรงเสด็จขึ้นครองราชย์ เมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2477 เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ไม่มีพระราชโอรสและพระราชธิดาที่จะสืบราชสันตติวงศ์ และด้วยความเห็นชอบของผู้สําเร็จราชการแผ่นดินที่ได้ดําเนินการไปตามกฎมณเฑียรบาล
รัชกาลที่ 9
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช (ประสูติ พ.ศ. 2470 ขึ้นครองราชย์ พ.ศ. 2489 – พ.ศ. 2559) ทรงเป็นพระราชโอรสาธิราชองค์ที่ 3 ในสมเด็จพระราชชนนีศรีสังวาลย์ (สมเด็จพระศรีนครินทรทรา บรมราชชนนี)พระองค์ได้เสด็จกลับเถลิงถวัลยราชสมบัติต่อจากพระบรมเชษฐาเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 ขณะมีพระชันษา 19 ปี ทรงสนพระทัยในอักษรศาสตร์ และการดนตรีทรงรอบรู้ภาษาต่างประเทศหลายภาษาและตรัสได้อย่างคล่องแคล่ว สําหรับดนตรีนั้นทรงประพันธ์เนื้อร้องและทํานองเพลงแด่คณะวงดนตรีต่างๆ มีเพลงพระราชนิพนธ์ที่คนไทยรู้จัก เช่น เพลงสายฝน
รัชกาลที่ 10
พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว (พระราชสมภพ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2495) เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ปัจจุบันของประเทศไทย นับเป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 10 แห่งราชวงศ์จักรี ทรงได้รับการศึกษาระดับอนุบาลศึกษาที่พระที่นั่งอุดร พระราชวังดุสิต และทรงเข้ารับการศึกษาระดับประถมศึกษาและระดับมัธยมศึกษา โรงเรียนจิตรลดา หลังจากนั้นได้ทรงศึกษาระดับเตรียมทหารที่โรงเรียนคิงส์ นครซิดนี่ย์ ประเทศออสเตรเลีย แล้วเข้ารับการศึกษาระดับอุดมศึกษา ทรงได้รับปริญญาอักษรศาสตรบัณฑิต (การศึกษาด้านทหาร) คณะการศึกษาด้านทหาร จากมหาวิทยาลัยนิวเซาท์เวลล์ ประเทศออสเตรเลีย